ค้นหาบล็อกนี้

วันเสาร์ที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2555

สารกึ่งตัวนำ (1)


สารกึ่งตัวนำ (1)


1. บทนำ

        สารบางชนิดนำไฟฟ้าได้ดี เช่น ทองแดง เหล็ก สังกะสี สารบางชนิดไม่นำไฟฟ้า แต่เป็นฉนวนไฟฟ้า เช่น แก้ว ยาง พลาสติก สารที่มีคุณสมบัติไฟฟ้าอยู่ระหว่างตัวนำไฟฟ้าและฉนวนไฟฟ้า เรียกว่า สารกึ่งตัวนำ เนื่องจากเราสามารถควบคุมการนำไฟฟ้าของสารกึ่งตัวนำได้ เราจึงนำเอาสารกึ่งตัวนำมาประดิษฐ์สร้างเป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีชื่อ เรียกว่า อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ได้มากมาย เช่น ไดโอด ทรานซิสเตอร์ และวงจรไอซี ในเครื่องใช้ไฟฟ้าที่เราใช้กันอยู่ในชีวิตประจำวัน เช่น ใน วิทยุ โทรทัศน์ โทรศัพท์ คอมพิวเตอร์ ล้วนแล้วแต่มีอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เป็นส่วนประกอบสำคัญทั้งสิ้น สารกึ่งตัวนำที่ใช้ประโยชน์มากที่สุด ได้แก่ ซิลิคอน ซึ่ง เป็นธาตุที่ถลุงได้จากทราย และเป็นธาตุที่มีมากที่สุดในโลกชนิดหนึ่ง


ภาพประกอบที่ แสดงอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ประเภทต่างๆ
ที่มา: http://img03.taobaocdn.com/imgextra/i3/259133613/T29oXEXbhaXXXXXXXX_!!259133613.jpg


2.  ความหมายของสารกึ่งตัวนำ
        สสารทุกชนิดประกอบด้วยส่วนประกอบเล็กๆ ที่เรียกว่า โมเลกุลมารวมตัวกัน โดยแต่ละโมเลกุลก็จะประกอบด้วยส่วนที่เล็กมากๆ ซึ่งเรียกว่าอะตอม เช่น โมเลกุลของน้ำจะประกอบด้วยอะตอม 3 อะตอม คืออะตอมของไฮโดรเจน (Hydrogen) 2 อะตอม และ อะตอมของออกซิเจน (Oxygen) 1 อะตอมมารวมกัน โดยอะตอมแต่ละอะตอมจะมีแกนกลางซึ่งเรียกว่านิวเคลียส ซึ่งจะมีนิวตรอนและโปรตอนอยู่ภายใน  และจะมีอิเล็กตรอนวิ่งอยู่รอบๆนิวเคลียส หลายๆวง โดยอิเล็กตรอนที่อยู่วงนอกสุดเรียกว่า วาเลนอิเล็กตรอน (Valence Electron) จะมีผลต่อความสามารถในการนำไฟฟ้าของสสารนั้น สสารที่เป็นตัวนำ (Conductor) จะมีอิเล็กตรอนวงนอกเพียง 1-3 ตัว ดังนั้นเมื่อมันได้รับพลังงานความร้อน หรือ พลังงานไฟฟ้า อิเล็กตรอนก็จะหลุดออกมาจากวงโคจรเป็นอิเล็กตรอนอิสระ (Free Electron) ได้ทันที ทำให้สามารถเคลื่อนตัวไปในสสารได้อย่างอิสระ ซึ่งเราเรียกการเคลื่อนตัวของอิเล็กตรอนนี้ว่า กระแสไฟฟ้า”  ดังนั้นสสารที่เป็นตัวนำจึงมีสภาพการนำไฟฟ้าที่ดี  ส่วนสสารที่มีอิเล็กตรอนวงนอกตั้งแต่ 5-8 ตัว เราจะเรียกว่า ฉนวน” (Insulator) จะมีสภาพการนำไฟฟ้าที่ไม่ดีนัก เพราะมีอิเล็กตรอนอิสระน้อย  สำหรับสสารที่มีอิเล็กตรอนวงนอก 4 ตัว เช่น ซิลิกอน (Silicon) และเยอร์มันเนียม (Germanium) จะมีสภาพการนำไฟฟ้าอยู่ระหว่างตัวนำและฉนวน เราเรียกว่า สารกึ่งตัวนำ” (Semiconductor)

      2.1 ประวัติความเป็นมา


               เมื่อวิทยาการไฟฟ้าได้ถูกนำมาใช้ประโยชน์ ในสมัยแรกๆ วัสดุไฟฟ้าที่ใช้ในอุปกรณ์ไฟฟ้า ต่างๆ มักได้แก่ ตัวนำไฟฟ้า เช่น สายทองแดง โลหะชนิดต่างๆ และฉนวนไฟฟ้า เช่น ยาง ลูกถ้วยเซรามิก เมื่อมีการพัฒนาหลอดสุญญากาศขึ้นมา เพื่อทำหน้าที่เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถขยายสัญญาณไฟฟ้า กำเนิดความถี่ ฯลฯ วัสดุไฟฟ้าก็ยังคงเป็นพวกตัวนำและฉนวนอยู่เช่นเดิม
               สารกึ่งตัวนำเป็นวัสดุไฟฟ้าที่มีคุณสมบัติอยู่ระหว่างตัวนำและฉนวน มีการค้นพบมานาน พร้อมๆ กับวัสดุชนิดอื่นๆ แต่มิได้นำมาใช้ประโยชน์อย่างจริงจัง จนกระทั่งปี พ.ศ.2490 ซึ่งมีการคิดค้นทรานซิสเตอร์ได้สำเร็จเป็นครั้งแรก สารกึ่งตัวนำจึงได้รับความสนใจ และมีบทบาทในการพัฒนาวิทยาการด้านอิเล็กทรอนิกส์อย่างมาก เพราะสามารถทำงานทดแทนหลอดสุญญากาศได้เกือบทั้งหมด ทำให้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์มีขนาดเล็ก น้ำหนักเบา กินไฟฟ้าน้อย และมีราคาถูก
                ปัจจุบันเราจะพบสิ่งประดิษฐ์อิเล็กทรอนิกส์ ที่ทำจากสารกิ่งตัวนำอยู่ในอุปกรณ์ไฟฟ้าทุกชนิด ที่เราใช้งานในชีวิตประจำวัน เช่น วิทยุ โทรทัศน์ โทรศัพท์ เครื่องซักผ้า เตาไมโครเวฟ รถยนต์ เครื่องคอมพิวเตอร์ ฯลฯ ดังนั้น สารกึ่งตัวนำจึงกลายเป็นวัสดุไฟฟ้าที่มีความสำคัญต่อการใช้ชีวิต ในโลกยุคปัจจุบันและอนาคต

             2.2 ตัวนำและฉนวน

                 สารกึ่งตัวนำเป็นวัสดุทางไฟฟ้า ที่มีคุณสมบัติการนำไฟฟ้าอยู่ระหว่างตัวนำ และฉนวน สารกึ่งตัวนำมีคุณสมบัติพิเศษที่แตกต่างจากตัวนำและฉนวน คือ การนำไฟฟ้าของสารกึ่งตัวนำจะเปลี่ยนแปลงได้ตาม - อุณหภูมิ - แสงที่ตกกระทบ - ปริมาณสารเจือปน – ปริมาณของจุดบกพร่องในเนื้อสาร

ภาพประกอบที่ 2 แสดงโครสร้างของสสารแต่ละประเภท
ที่มา: http://kpp.ac.th/elearning/elearning3/images-u/u-7/701.jpg

           2.3  คุณสมบัติทางไฟฟ้า     

                สารกึ่งตัวนำที่มีคุณสมบัติทางไฟฟ้าอยู่ระหว่างตัวนำไฟฟ้า และฉนวนไฟฟ้า จึงเป็นสารที่เราสามารถควบคุมคุณสมบัตินำไฟฟ้าของมันได้ โดยการเติมสารเจือปนลงไปในขณะที่เตรียมสารกึ่งตัวนำนั้นๆในเครื่องใช้ไฟฟ้าทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็น วิทยุ โทรทัศน์ โทรศัพท์ เครื่องซักผ้า เตาไมโครเวฟ คอมพิวเตอร์ เราจะพบเห็นอุปกรณ์สารกึ่งตัวนำเป็นส่วนประกอบที่สำคัญอยู่ในนั้น อุปกรณ์สารกึ่งตัวนำบางชนิดเป็นสิ่งประดิษฐ์ที่มีขาต่อ 2 ขา เรียกว่า ไดโอด ทำหน้าที่ดัดกระแสไฟฟ้าอุปกรณ์สารกึ่งตัวนำบางชนิดเป็นสิ่งประดิษฐ์ที่มีขาต่อ 3 ขา เรียกว่า ทรานซิสเตอร์ ทำหน้าที่เป็นตัวปิดเปิดสัญญาณไฟฟ้า หรือทำหน้าที่ขยายสัญญาณไฟฟ้า อุปกรณ์สารกึ่งตัวนำบางชนิดเป็นสิ่งประดิษฐ์ที่มีขาต่อหลายสิบขา เรียกว่า วงจรไอซี ทำหน้าที่เป็นวงจรตรรก วงจรจำ วงจรขยายสัญญาณ วงจรปรับแรงดัน วงจรกำหนดความถี่ ฯลฯ
                 สารกึ่งตัวนำจึงเป็นส่วนประกอบที่สำคัญที่สุดของเครื่องใช้ไฟฟ้าทุกชนิด สารกึ่งตัวนำที่นำมาผลิตเป็นอุตสาหกรรมมากที่สุด ได้แก่ ซิลิคอน ซึ่งเป็น ธาตุที่ถลุงได้จากทราย ซิลิคอนเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่มีมากที่สุดในโลก ทำให้อุปกรณ์ สารกึ่งตัวนำมีราคาถูก มีขนาดจิ๋ว น้ำหนักเบา จึงทำให้เครื่องใช้ไฟฟ้าสมัยใหม่ที่ใช้ อุปกรณ์สารกึ่งตัวนำมีขนาดกะทัดรัด และกินไฟฟ้าน้อย สารกึ่งตัวนำจึงเปรียบเสมือน วัสดุพื้นฐานของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ปัจจุบัน

         2.4 การเติมสารเจือปน สารกึ่งตัวนำชนิด N และ P

                  เมื่อมีการเติมอะตอมของสารเจือปนที่อยู่ในหมู่ v (อะตอมที่มีอิเล็กตรอนที่อยู่ในวงโคจรนอกสุดจำนวน 5 อิเล็กตรอน) ลงไปในผลึกสารกึ่งตัวนำที่อยู่ในหมู่ IV (อะตอมที่มีอิเล็กตรอนที่อยู่ในวงโคจรนอกสุดจำนวน 4 อิเล็กตรอน) จะเกิดอิเล็กตรอนอิสระ 1 ตัว ทำให้สารกึ่งตัวนำที่อยู่ในหมู่ IV นี้นำไฟฟ้าได้แบบ N อะตอม สารเจือปนที่ทำหน้าที่จ่ายอิเล็กตรอนอิสระได้นี้ เรียกว่า โดเนอร์ (Donor : ผู้ให้) และมีประจุไฟฟ้าเป็นบวก สารเจือปนชนิด N ได้แก่ ฟอสฟอรัส (P) อาเซนิก (As) แอนติโมนี (Sb)

ภาพประกอบที่ 3 แสดงการเติมสารเจือปนชนิด N
ที่มา: http://www.rmutphysics.com/charud/specialnews/6/semiconductor/semiconductor14.jpg

                   เมื่อมีการเติมอะตอมของสารเจือปนที่อยู่ใน หมู่ III (อะตอมที่มีอิเล็กตรอนที่อยู่ในวงโคจรนอกสุดจำนวน 3 อิเล็กตรอน) ลงไปในผลึกสารกึ่งตัวนำที่อยู่ในหมู่ IV จะขาดอิเล็กตรอน 1 ตัว เราเรียกสถานะนี้ว่า โฮล (Hole แปลว่า หลุม) โฮลจะจับอิเล็กตรอนที่อยู่ข้างเคียงได้ จึงทำให้เกิดโฮลข้างเคียง จนดูเหมือนว่าโฮลเคลื่อนที่ได้ ผลึกที่มีโฮลเคลื่อนที่ได้นี้จึงมีการนำไฟฟ้าแบบ P อะตอมของสารเจือปนที่ให้เกิดโฮลนี้ เรียกว่า เอกเซบเตอร์ (Acceptor : ผู้รับ) เมื่อรับ อิเล็กตรอนมาแล้ว อะตอมนี้จึงมีประจุไฟฟ้าเป็น ลบ สารเจือปนชนิด P ได้แก่ โบรอน (B) อินเดียม (In)

ภาพประกอบที่ 4แสดงการเติมสารเจือปนชนิด P
ที่มา: http://www.rmutphysics.com/charud/specialnews/6/semiconductor/semiconductor16.jpg


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น